Tag Archives: beginner

Aquaponics คืออะไร

Aquaponics มาจากการรวมกันของสองคำ คือ Aquaculture กับ Hydroponic คือการเลี้ยงสัตว์น้ำและการปลูกพืชแบบไร้ดิน การวิวัฒนาการศึกษาของทั้งสองเรื่องถือว่ามาถึงจุดที่สูง คือสามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีถ้าทำอย่างถูกต้อง

hydroponic photo

การทำอควาโปนิคส์ คือการนำสองอย่างนี้มาประกอบกันเป็นระบบใหม่ที่เป็นระบบนิเวศที่สมบูรณ์มากขึ้น โดยส่วนประกอบหลัก มีสามส่วนคือ ปลา พืช และจุลินทร์หรือแบคทีเรียต่างๆ ส่วนที่ถูกมองข้ามไปบ่อยๆของaquaponics คือแบคทีเรียซึ่งเป็นส่วนเติมเต็มให้กับระบบไนโตรเจนไซเคิล

ระบบ Aquaponics ไม่ใช้ดินในการปลูกแต่อาจจะใช้วัสดุปลูกอื่น เพื่อเป็นตัวประคองราก เช่น ดินเผา หิน กรวด หินภูเขาไฟ หรือแม้กระทั่งไม่ใช้วัสดุปลูกเลยหรือ เทคนิค NFT

ระบบนิเวศเล็กๆในระบบAquaponics

ปลาขับของเสียต่างๆและแอมโมเนีย ซึ่งเป็นอันตรายกับปลา และลดทอนคุณภาพน้ำ ในระบบอควาโพนิคส์ น้ำจากการเลี้ยงปลาจะถูกป้อนให้เข้า พื้นทีเลี้ยง ซึ่งจะถูกแบคทีเรียที่ดีทำการแปลงแอมโมเนียเป็นไนไตรต์และไนเตรตตามลำดับ

ไนเตรทและแร่ธาตุที่มีประโยชน์อื่นๆ จะถูกดูดซึมโดยพืช ทำให้คุณภาพน้ำดีและสะอาดมากขึ้น ตามสะอาดเหล่านี้ จะถูกหมุนเวียนกลับไปให้ปลา ส่วนของเสีย หรือตะกอน จะถูกกรองออกโดย กรองกายภาพ

น้ำสะอาดที่ถูกหมุนเวียนกลับไป และจะถูกเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เพื่อให้ได้ตามความต้องการของปลา ระบบนี้เป็นระบบที่จำลองระบบนิเวศของธรรมชาติ สามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และไร้สารเคมี ทั้งปลาและพืชผักต่างๆ

อควาโปนิกส์แบบต่างๆ

ระบบอควาโปนิกส์ มีหลายระบบ แต่จะมี 3 ระบบที่ได้รับการยอมรับสูงสุดและเป็นระบบที่ใช้ อย่างแพร่หลาย ทั้งๆในครัวเรือนและอุตสาหกรรม

Media filled growbed

ระบบนี้เป็นระบบที่ทำง่ายที่สุด โดยในกระบะปลูก จะถูกใส่ด้วยวัสดุปลูกจนเต็ม วัสดุปลูก ที่ใช้ จะมีทั้งก้อนดินเผา กรวด หินภูเขาไฟ หรือวัสดุที่มีความคล้ายคลึง น้ำจะถูกสูบจากบ่อเลี้ยงปลาเข้ามาไว้ใน พื้นที่ปลูกพืช โดยจะมี 2 แบบ 1 คือ แบบใส่น้ำไว้ตลอดเวลา และ 2 คือแบบ ที่มีการระบายน้ำทิ้งเป็นพักๆ

hydroponic photo

NFT nutrient film technique

ระบบนี้เป็นระบบที่ ถูกใช้อย่างแพร่หลาย ในการปลูกพืชไร้ดินหรืออะควาโพนิค โดยจะไม่ใช้วัสดุปลูกในพื้นที่ปลูก แต่น้ำจะมีการไหลผ่านรากซึ่งน้ำที่มีแร่ธาตุอาหารเหล่านี้จะถูกดูดซึมไปใช้โดยพืชโดยตรง พืชที่เหมาะกับการปลูกลักษณะนี้ส่วนมากจะเป็นผักที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่จะไม่มีพื้นที่สำหรับยึดเกาะราก และจะทำให้ต้นล้มลงได้ ระบบนี้ถูกใช้มากในการปลูกเพื่ออุตสาหกรรม เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด แต่ระบบนี้จำเป็นต้องมีการกรองน้ำที่ดี เนื่องจากแตกต่างจากการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ เพราะน้ำที่ มาจากบ่อเลี้ยงปลา จะมีตะกอนอยู่มากซึ่งทำให้เกาะติดกับรากพืช แล้วจะทำให้พืชขาดออกซิเจน

hydroponic photo

DWC deep water culture

ระบบนี้จะคล้ายกับระบบ nft แต่จะใช้ช่องน้ำขนาดใหญ่ แล้วปลูกพืชบนแพ ให้รากพืชลงไปหาอาหารในน้ำ ระบบนี้จะดีกว่าระบบ nft เพราะสามารถทำได้โดยใช้ต้นทุนต่ำกว่า สำหรับระบบขนาดใหญ่ เมื่อเทียบ กับระบบ nft ที่ต้องทำหลุมปลูกสำหรับพืชแต่ละต้น ระบบ dwc สามารถใช้แผ่นโฟม วางไว้บนน้ำ และเจาะหลุมเพื่อทำการปลูกพืช ระบบนี้สามารถทนต่อตะกอนในน้ำได้มากกว่าระบบ nft

hydroponic photo

ใครที่เหมาะกับการทำอควาโปนิกส์

ระบบอควาโปนิกส์ เป็นระบบที่มีความหลากหลายมาก สามารถทำได้ตั้งแต่ระบบขนาดเล็กสำหรับใช้ภายในบ้าน หรือทำเป็นระบบขนาดใหญ่เพื่อปลูกผักเป็นอุตสาหกรรม โดยจะได้ทั้งผลลัพธ์เป็นผัก และปลาในบ่อเลี้ยงที่มีขนาดสมบูรณ์

aquaponics photo
Photo by Mananasoko

ระบบ aquaponic ถูกใช้ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
โดยใช้เป็นสื่อการสอนสำหรับในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย เนื่องจากระบบอควาโปนิกส์เป็นการจำลองระบบนิเวศภายในธรรมชาติ เป็นระบบที่เข้าใจได้ไม่ยากและได้ผลลัพธ์ที่น่าตื่นเต้น ทำให้ผู้ศึกษาสามารถเข้าใจ การอยู่ร่วมกันระหว่างสัตว์น้ำและพืชในระบบนิเวศ เหมาะทั้งในระดับ เด็กเล็กไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย ระบบอควาโปนิกส์ได้รับการยอมรับ ให้เป็นสื่อการสอนที่ดีทั้งทางทฤษฎีและในภาคปฏิบัติ และยังเป็นสื่อในการ สอนการทำอาชีพทางด้านเกษตรกรรม

aquaponics photo
Photo by Kanu Hawaii

พืชชนิดใดที่เหมาะกับการปลูกอควาโปนิกส์

พืชผักต่างๆ ทั้งที่โตเร็ว เก็บผลผลิตทั้งต้น เช่นผักต่างๆผักกาด ผักกาดหอม ผักสลัดต่างๆกรีนโอ๊คเรดโอ๊คผักคอส หรือเก็บเฉพาะผล เช่นมะเขือเทศ เมล่อนพริก แตงกวา ในระบบอควาโปนิกส์ขนาดใหญ่ ยังสามารถปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ได้ด้วย ถ้ามีระบบประคองลำต้นที่ดีพอ เนื่องจากระบบอควาโปนิกส์ ไม่ใช้ดิน จึงต้องมีส่วนช่วยค้ำจุนลำต้น

aquaponics photo
Photo by Cara Harpole

ปลาที่เหมาะกับระบบอควาโปนิกส์

ควรเป็นปลาที่เติบโตในท้องถิ่น เนื่องจากสภาวะและอุณหภูมิที่เหมาะสม ในประเทศไทย ปลาที่สามารถ ทนสภาพแวดล้อมได้ดี และมีตลาดรับซื้อเมื่อปลาตัวเต็มวัย เช่นปลานิล ปลาทับทิม หรือปลาดุก แต่สำหรับผู้ที่ ไม่ได้ต้องการผลผลิตจากปลา ก็สามารถเลี้ยงปลาสวยงามแทนได้ เช่นปลาทอง ปลาคาร์ฟ หรือปลาสวยงามอื่น ในต่างประเทศที่มีอุณหภูมิเย็น นิยมเลี้ยงปลาค็อต ปลาเทร้าท์ และปลาดุก

aquaponics photo
Photo by Kanu Hawaii

เพิ่มคุณภาพน้ำ ให้กับการเลี้ยงปลา สวยงาม

ในบ่อ หรือตู้ปลาสวยงาม ที่มีระบบกรองที่สมบูรณ์แล้ว จะได้ของเหลือจากการย่อยสลาย แอมโมเนียและไนไตรท์ โดยแบคทีเรียที่ดีคือ ไนเตรท ซึ่งตามปกติไนเตรทไม่สามารถถูกขับออกไปจากระบบเลี้ยงได้ ทำได้เพียง การทำให้เจือจางลง ด้วยการถ่ายน้ำเก่าและเติมน้ำใหม่เข้าไปในระบบ แต่เรา สามารถต่อยอดด้วยการเพิ่มระบบอควาโปนิกส์ โดยไม่ส่งผลกระทบกับบ่อปลาสวยงามที่มีอยู่ เพราะพืชที่ปลูกเพิ่มลงไป จะดึงไนเตรทออกจากน้ำ โดยที่ไม่ต้องถ่ายน้ำ ลดภาระให้กับผู้เลี้ยง ในต่างประเทศ นิยมใช้พืชตระกูลพลูด่างในการ ดูดซึมไนเตรตออกจากระบบ มีผู้ทดลองนำต้นโกงกาง สำหรับปลา ทะเลสวยงาม โดยปลูกต้นโกงกางไว้ในบ่อกรอง พบว่าปริมาณไนเตรทลดลง และได้ผลดี

ไนโตรเจนไซเคิลในระบบกรองชีวภาพ

การปรับสมดุลกรองชีวภาพของกรอง เพื่อการเลี้ยงปลาสวยงามเป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อนอะไร สามารถทำได้หลายวิธี เรามาเริ่มจากพื้นฐานกันก่อน

แอมโมเนียเป็นอันตรายต่อปลา

ของเสียที่ขับออกจากตัวปลา เช่นพวกขี้ปลา เมือกต่างๆของปลาที่ถูกขับออกมา หรืออาหารที่ปลากินไม่หมด เป็นตัวตั้งต้นของแอมโมเนียที่เกิดขึ้น แอมโมเนียพวกนี้เป็นอันตรายต่อปลาโดยตรง โดยจะทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อต่างๆ ของปลา โดยเฉพาะส่วนเหงือกและไต ทำให้ปลาโตช้าและมีภูมิต้านทานต่ำ

แอมโมเนียสามารถถูกกำจัดออกไปได้ด้วยแบคทีเรียดี ชื่อ Nitrosomonas sp. แบคทีเรียนี้จะอยู่บนพื้นที่ผิวภายในตู้ อาหารของมันคือแอมโนเนีย หลังจากมันทำการย่อยแอมโมเนียแล้ว สี่งที่ได้คือ ไนไตรท์ ซึ่งจะมีแบคทีเรียประเภทที่สอง Nitrobacter sp. ใช้ไนไตรท์เป็นอาหาร แล้วปล่อยไนเตรทออกมา ซึ่งจะทำให้วงจรสมบูรณ์ เพราะไนเตรทเป็นอันตรายกับปลาน้อยกว่าสองตัวที่กล่าวไปคือ ไนไตรท์และแอมโมเนียมาก

แบคทีเรียดีทั้งสองชนิด จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าไม่มีแอมโมเนีย และออกซิเจน

Nitrogen Cycle สำคัญอย่างไร

ต้องมารู้จักไนโตรเจนไซเคิลก่อน ของเสียที่ออกมาจากปลาหรือเศษอาหารที่หมักหมมในตู้จะถูกย่อยสลายกลายเป็นแอมโมเนีย แล้วจะถูกย่อยโดยแบคทีเรียอีกประเภทหนึ่ง เพื่อแปลงเป็นไนไตรท์ และอีกครั้งเป็น ไนเตรท

NH3 > NO2 > NO3
แอมโมเนีย > ไนไตรท์ > ไนเตรท

สารที่มีอันตรายกับปลามากคือ แอมโมเนีย NH3 และไนไตรท์ NO2 ส่วนไนเตรทจะมีอันตรายกับปลาน้อยถ้าความเข้มข้นไม่สูงมากเกินไป

ไนโตรเจนไซเคิล สร้างได้ยังไง

การเกิดไนโตรเจนไซเคิลในระบบกรองชีวภาพจะเกิดขึ้นได้ต้องมีแบคทีเรียดีที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยแบคทีเรียดีจะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากการให้อาหารมัน ซึ่งอาหารของมันก็คือแอมโมเนีย NH3 แอมโมเนียจะได้จากการที่ปลาขับของเสียออกหรือจากอาหารปลา ซึ่งเป็นแบคทีเรียชั้นดี เมื่อมีอาหาร แบคทีเรียจะเกิดขึ้นเองตากธรรมชาติ ตามพื้นที่ผิวที่มีในตู้ปลา เช่น ผิวตู้ หิน หัวทราย และที่มากที่สุดคือในวัสดุกรอง ที่เราจะเห็นเป็นคราบสีดำหรือสีน้ำตาล ในตู้ปลาที่ได้มีการไซเคิลแล้ว

ไนโตรเจนไซเคิลที่สมบูรณ์ต้องใช้เวลาเพราะการเปลี่ยนจาก ไนไตรท์เป็นไนเตรทก็จะต้องใช้แบคทีเรียอีกประเภทนึง ซึ่งจะกินของเสียจากแบคทีเรียชนิดแรก สิ่งที่เราทำได้ก็คือรอเวลา

โดยทั่วไประบบไนโตรเจนไซเคิลจะเข้าที่เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 4 สัปดาห์ที่อุณหภูมิ 25 องศา และจะช้าลงอีกถ้าน้ำมีอุณหภูมิต่ำ

ต้องใช้เวลาในการสร้างระบบกรองชีวภาพ

Nitrosomonas จะขยายตัวเป็นสองเท่าในเวลา 6 ชั่วโมง และ Nitrobacter ใช้เวลา 13 ชั่วโมง แบคทีเรียดีพวกนี้ขยายพันธ์ได้ช้ามาก ถ้าเทียบกับแบคทีเรียที่เป็นเชื้อโรค เช่น เชื่อ E.coli ที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร จาก 1 เซลสามารถขยายเป็น 35ล้านล้านเซล ภายใน 6 ชั่วโมง

โดยปกตินักเลี้ยงปลาจะอยากเริ่มเลี้ยงทันทีแต่ไม่อยากรอ
การสร้างระบบกรองชีวภาพสามารถทำได้เลยตั้งแต่วันแรกที่เลี้ยง ไม่จำเป็นต้องรอให้ระบบกรองเข้าที่ก่อนเพื่อลงปลา แต่จะต้องทำการถ่ายน้ำใหม่เรื่อยๆ เพื่อลดระดับของเสียที่เกิดขึ้นจนกว่าระบบกรองชีวภาพจะเข้าที่ โดยการไซเคิลระบบกรองแบบนี้จะใช้เวลานานมากเนื่องจากแบคทีเรียจะเกิดขึ้นได้น้อย อาจจะใช้เวลาถึง 8 สัปดาษ์ระบบถึงจะเข้าที่

ควรให้อาหารแต่น้อยในช่วงที่ระบบยังไม่เข้าที่ เพราะปลาขับของเสียตลอดเวลาทั้งทางเมือกและเหงือก แม้จะไม่ได้กินอาหาร การให้อาหารมากเกินไปจะทำให้แอมโมเนียในตู้มีมากจนเป็นอันตรายต่อปลา

Image by kasiejb